คำนาม
ความหมายของคำนาม
คำนามหมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่
เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่ จังหวัด
ประเทศไทย การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็นต้น
เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่ จังหวัด
ประเทศไทย การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็นต้น
ชนิดของคำนาม
คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1. สามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วๆ ไป เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ
โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน
โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา ผีเสื้อ คน สุนัข วัด ต้นไม้ บ้าน
2.วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของคน สัตว์ หรือ
สถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส
จังหวัดพิจิตร พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม
สถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช เด็กชายวิทวัส
จังหวัดพิจิตร พระอภัยมณี วันจันทร์ เดือนมกราคม
3. สมุหนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไปและคำนามเฉพาะ เช่น ฝูงผึ้ง
กอไผ่ คณะนักเรียน หมู่่ลูกเสือ บริษัท พวกกรรมกร
กอไผ่ คณะนักเรียน หมู่่ลูกเสือ บริษัท พวกกรรมกร
4. ลักษณนาม คือ เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด ปริมาณ
ของคำนามนั้นๆให้ชัดเจน เช่น บ้าน 1 หลัง โต๊ะ 5 ตัว คำว่า หลัง และ ตัว เป็นลักษณนาม
ของคำนามนั้นๆให้ชัดเจน เช่น บ้าน 1 หลัง โต๊ะ 5 ตัว คำว่า หลัง และ ตัว เป็นลักษณนาม
5. อาการนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง มักมีคำว่า “การ” และ
“ความ” นำหน้า เช่น การกิน การเดิน การพูด การอ่าน การเขียน ความรัก ความดี ความคิด
หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้คือ
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
– ปีใหม่ชอบอ่านหนังสือ
– ตำรวจจับผู้ร้าย
– ตำรวจจับผู้ร้าย
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น
– วารีอ่านจดหมาย
– พ่่อตีสุนัข
– พ่่อตีสุนัข
3. ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น
– สมศรีเป็นข้าราชการครู
– นายณเดชน์ทนายความฟ้องนางสาวญาญ่่าดาราดัง
– นายณเดชน์ทนายความฟ้องนางสาวญาญ่่าดาราดัง
4. ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น
– ศรรามเป็นทหาร
– เขาเป็นตำรวจแต่น้องสาวเป็นพยาบาล
– เขาเป็นตำรวจแต่น้องสาวเป็นพยาบาล
5. ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่
ชัดเจนขี้น เช่น
ชัดเจนขี้น เช่น
– คุณแม่ของเด็กหญิงสายฝนเป็นครู
– นักเรียนไปโรงเรียน
– นักเรียนไปโรงเรียน
6. ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น
– คุณพ่อจะไปเชียงใหม่วันเสาร์
– เขาชอบมาตอนกลางวัน
– เขาชอบมาตอนกลางวัน
7. ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น
– น้ำฝน ช่วยหยิบปากกาให้ครูทีซิ
– ตำรวจ ช่วยฉันด้วย
– ตำรวจ ช่วยฉันด้วย
อ่านเข้าใจแล้วมาทำแบบทดสอบกันค่ะ
ยกตัวอย่างให้ครู หัวข้อละ 4 ชนิดนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น